ทั้ง 2 พระองค์ มีบุญคุณต่อประเทศไทยเพราะได้กอบกู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยา
บทความที่ได้รับความนิยม
-
วัดประตูต้นผึ้ง เป้นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2380 นับถึงปีปัจจุบันมีอายุประมาณ 179 ปี สันนิษฐานสร้างในสมัยเจ้าน้อยขัตติยะบุตรเจ้า...
-
เป็นเทพบุตรบนสรวงสวรรค์ชั้นดุสิต หลังจากพระเวสสันดรทิวงคต ได้อุบัติไปบังเกิดเป็นท้าวสันดุสิตเทวราช เสวยทิพยสมบัติ ก่อนจุติบนมนุษย์โลก และตร...
-
พระประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก พุทธลักษณะปางมารวิชัย เป็นปางที่พระพุทธเจ้าทรงชนะหมู่มาร ชนะกิเลส เครื่องสักการะสำหรับพระประธานในโบสถ์ ธูป ...
-
เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ได้เกิดขึ้นมาในชาติภพต่างๆ การเกิดพระพทุธเจ้าแต่ละพระองค์ใช้เวลานานหลายอสงค์ไขย แต่ละพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีและตรั...
-
ปางถวายเนตร ปางห้ามญาติ ปางไสนยาสน์ ปางอุ้มบาตร ปางป่าเลไลยก์ ปางสมาธิ ปางรำพึง ปางนาคปรก ควรบูชาตามวันเกิดตนเองเพื่อความเป็นสิริมงคล
-
พระพุทธปฎิมาศิลปะ 3 สมัย นามอันเป็นมงคลจึงมีผู้ศรัทธาขอพร พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง แห่งที่รวมแห่งธนสารสมบัติ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ทรัพย์นับแสน...
-
รูปหล่อเหมือนพระอริยสงฆ์ 9 รูป ที่ได้เจริญวิปัสนากรรมฐาน สามารถทำจิตให้บริสุทธิ์ ปฎิบัติดี ปฎิบัติตรง ปฎิบัติเป็นธรรม ปฎิบัติเพื่อออกจากทุกข...
-
พระพุทธรูปลักษณะ บรรทม (นอน) ตะแคงเบื้องขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้...
-
พระพุทธรูปปางมารวิชัย เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่จะบันดาลความสำเร็จให้แก่ผู้อธิฐานขอพรได้อย่างทันอกทันใจ
วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
พระแม่ธรณี
เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณีในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฎกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมพญามารที่รังควานสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้ เมื่อบูชาเชื่อว่าจะอำนวยผลทางความมั่นคงและป้องกันสิ่งเลวร้าย
หมอชีวกโกมารภัจจ์
บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทาง "เป็นที่รักของปวงชน"
พระพรหม
ผู้ลิขิตชะตาชีวิตของมนุษย์ เรียกกันว่า พรพรหม หรือ พรหมลิขิต องค์เทวรูปมี 4 พักตร์ พระหัตถ์แต่ละข้างถือลูกประคำ ดอกบัว คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงษ์ ผู้บูชาพระพรหมและทำความดีจะได้รับบันดาลพรให้สมหวัง
พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ (พระโพธิสัตว์กวนอิม)
ผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ผู้ตกทุกข์ได้ยากในสมัยโบราณนั้น ผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหงและทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย จึงเกิดภาพลักษณ์ในด้านที่เป็นเพศหญิง เพื่อช่วยเหลือสตรีให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม ไม่ว่าจะแสดงภาพแห่งพระแม่กวนอิมในลักษณ์ใดพระองค์ก็ยังมีเมตตากรุณา ที่ประทับอยู่กลางใจของผู้ศรัทธาจนถึงปัจจุบัน
พระอุปคุตเถระ
พระอรหันต์ผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ และฤทิธิ์เดชเกรียงไกร สามารถปราบพญามารและกำจัดสิ่งชั่วร้ายที่จะมาทำลายพิธีกรรมใหญ่ๆ มาแต่ครั้งโบราณ เชื่อกันว่าบูชาไว้จะทำให้มีโชคลาภโภคทรัพย์ และคุ้มครองภยันตรายต่างๆ
พระมหาสังกัจจายนะ (พระสังกัจจายน์)
พระอรหันต์องค์หนึ่งในครั้งพุทธกาลท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความ เมื่อเห็นรูปท่านประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดก็มักบูชา ขอโชคขอลาภ
พระสิวลีเถระ
พระอรหันต์ที่ได้รับการเอตทัคคะ ผู้เลิศในทางผู้มีลาภ ผู้ใดได้บูชาพระสิวลีเถระแล้วจะได้รับโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา
ท้าวสันดุสิตเทวราช
เป็นเทพบุตรบนสรวงสวรรค์ชั้นดุสิต หลังจากพระเวสสันดรทิวงคต ได้อุบัติไปบังเกิดเป็นท้าวสันดุสิตเทวราช เสวยทิพยสมบัติ ก่อนจุติบนมนุษย์โลก และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิด
พระธาตุศรีจอมทอง พระธาตุลำปางหลวง พระธาตุช่อแฮ พระธาตุแช่แห้ง พระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม พระธาตุหริภุญชัย เป็นต้น ผู้ที่ได้นมัสการ จะได้รับอานิสสงส์ มีบุญบารมีและมีคนให้ความเคารพนับถือ
พระเจ้าทันใจ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่จะบันดาลความสำเร็จให้แก่ผู้อธิฐานขอพรได้อย่างทันอกทันใจ
พระอรหันต์ 9 พระองค์
รูปหล่อเหมือนพระอริยสงฆ์ 9 รูป ที่ได้เจริญวิปัสนากรรมฐาน สามารถทำจิตให้บริสุทธิ์ ปฎิบัติดี ปฎิบัติตรง ปฎิบัติเป็นธรรม ปฎิบัติเพื่อออกจากทุกข์ เป็นที่พึ่งอันแท้จริง เป็นผู้ประเสริฐโดยแท้จริงได้แก่ หลวงพ่อเกษม เขมโก หลวงปู่มั่น หลวงปู่แหวนเป็น เป็นต้น
พระพุทธรูปประจำวันเกิด 7 ปาง
ปางถวายเนตร ปางห้ามญาติ ปางไสนยาสน์ ปางอุ้มบาตร ปางป่าเลไลยก์ ปางสมาธิ ปางรำพึง ปางนาคปรก ควรบูชาตามวันเกิดตนเองเพื่อความเป็นสิริมงคล
พระพุทธเจ้า 28 พระองค์
เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ได้เกิดขึ้นมาในชาติภพต่างๆ การเกิดพระพทุธเจ้าแต่ละพระองค์ใช้เวลานานหลายอสงค์ไขย แต่ละพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีและตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง จนถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธรูปปางปรินิพพาน
พระพุทธรูปลักษณะ บรรทม (นอน) ตะแคงเบื้องขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย แผ่ราบลงกับพื้นซึ่งเป็นลักษณะทอดร่างวางขันธ์ดับมุ่งสู่มหาปรินิพพาน พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวา
พระพุทธรูปปางไสนยาสน์
พระพุทธรูปลักษณะ บรรทม (นอน) ตะแคงเบื้องขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาทรงชันพระเศียรตั้งขึ้น พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวา
พระพุทธเจ้าน้อย
พระพุทธรูปปางประสูติ เพื่อสื่อความหมาย การเกิดแบบโอปปาติกะ คือการเกิดที่สมบูรณ์พร้อมฉับพลัน เป็นการเกิดที่เราไม่เคยรู้ ผู้ที่ทำหน้าที่ของตนเข้าถึงพระรัตนตรัยในขณะเวลาใดก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้ประเสริฐ
วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559
พระพุทธรูป 3 สมัย
พระพุทธปฎิมาศิลปะ 3 สมัย นามอันเป็นมงคลจึงมีผู้ศรัทธาขอพร พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง แห่งที่รวมแห่งธนสารสมบัติ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ทรัพย์นับแสน พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ความสุขพูนทวี
พระพุทธรูปปางลีลา
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ พระสิริงดงามยิ่งอยู่ในพระดริยาบทยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจรดอยู่กับพื้น พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้า
พระเจดีย์
พระเจดีย์ประธานของวัดสร้างขึ้นเพื่ออุทิศหรือระลึกถึงพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนคนใดนำพวงมาลัยดอกไม้ของหอมมาบูชากราบไหว้ หรือทำจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์นั้นก็จะได้รับความสุขตลอดกาล
พระพุทธปฏิมาพระประธานในอุโบสถ
พระประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก พุทธลักษณะปางมารวิชัย เป็นปางที่พระพุทธเจ้าทรงชนะหมู่มาร ชนะกิเลส เครื่องสักการะสำหรับพระประธานในโบสถ์ ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัว 1 ดอก
ประวัติวัดประตูต้นผึ้ง
วัดประตูต้นผึ้ง เป้นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2380 นับถึงปีปัจจุบันมีอายุประมาณ 179 ปี สันนิษฐานสร้างในสมัยเจ้าน้อยขัตติยะบุตรเจ้าคำโสม โดยชื่อวัดมาจากชื่อประตูเข้าเวียงเหนือ (ประตูต้นผึ้งเป็นประตูตั้งทิศตะวันออกของวัด) วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2513 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 55 เมตร โดยมี นายสุบิน เกตุทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางในขณะนั้นเป็นผู้ตัดลูกนิมิต
ปัจจุบัน "พระอธิการณรงค์ ปภากโร" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
ปัจจุบัน "พระอธิการณรงค์ ปภากโร" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)